คณะรัฐประศาสนศาสตร์

 

ประวัติความเป็นมาคณะรัฐประศาสนศาสตร์

Iphone

คณะรัฐประศาสนศาสตร์เริ่มก่อตั้งเป็นภาควิชาในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2547 จากการริเริ่มและความร่วมมือของจังหวัดนนทบุรีโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด (ในขณะนั้น) คือนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล กับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม  วีสกุล  อธิการบดี (ในขณะนั้น) รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์  สามโกเศศ ศาสตราภิชาน (ในขณะนั้น) รองศาสตราจารย์  ดร.สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ศาสตราจารย์จรินทร์ ธานีรัตน์  ที่ปรึกษาอธิการบดี มองเห็นความจำเป็นของงานภาครัฐที่ต้องเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ในภาคเอกชน และในภาคท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายงานในภาคท้องถิ่น ซึ่งการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ยิ่งทำให้ท้องถิ่นขยายตัวเพิ่มขึ้น  ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร รองรับการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น

ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ อันเป็นสาขาวิชาว่าด้วยการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งครอบคลุมงานราชการในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เพื่อรองรับความต้องการในสาขาอาชีพภาคราชการ

ด้วยความคิดเห็นร่วมกันดังกล่าวนำมาสู่การริเริ่มหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ดังนั้นการเขียนหลักสูตรจึงต้องเริ่มต้นใหม่ โดยมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้อาจารย์วลัยพร รัตนเศรษฐ อาจารย์พิเศษหมวดศึกษาทั่วไป และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยันต์ สุวรรณราช อาจารย์ประจำโทประสงค์ ปานเจริญ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ในขณะนั้น) เป็นผู้นำเสนอต่อกรรมการวิชาการ  สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยและกรรมสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปีการศึกษา พ.ศ.2547 กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์  ได้อนุมัติหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และอนุมัติเปิดภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์  ในสังกัดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และแต่งตั้งอาจารย์ปรีชา วุฒิการณ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ และผู้อำนวยการศึกษาภาคค่ำเป็นหัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ และอาจารย์วลัยพร รัตนเศรษฐ เป็นเลขานุการภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยดำเนินการรับนักศึกษาตั้งแต่นั้นมา ซึ่งมีนักศึกษาเริ่มต้นเพียง 19 คน

ต่อมา ปีการศึกษา พ.ศ.2548  ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์  เปิดรับสมัครและมีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปีจำนวน 40  คน

 
  • ปีการศึกษา พ.ศ.2549 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์  มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี สมัครเรียนจำนวน 80 คน
  • ปีการศึกษา พ.ศ.2550 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์  มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี สมัครเรียนจำนวน 100 คน
  • ปีการศึกษา พ.ศ.2551 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์  มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี สมัครเรียนจำนวน 130 คน
  • ปีการศึกษา พ.ศ.2552 ภาคเรียนที่ 2 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ได้ย้ายไปผนวกกับคณะเศรษฐศาสตร์เปลี่ยนชื่อคณะเป็นคณะเศรษฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และปีการศึกษา พ.ศ.2553 ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์มีนักศึกษาหลักสูตร 4 ปี สมัครเรียนจำนวน  196 คน จะเห็นได้ว่าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นในทุกๆปี
  • ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยคำสั่งจากอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แยกสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ออกจากคณะเดียวกัน  ยกระดับภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ให้มีสถานะเป็นคณะรัฐประศาสนศาสตร์และย้ายสถานที่ตั้งมาอยู่ที่ชั้น 6 อาคาร 5
  • ปีการศึกษา พ.ศ. 2554 รับนักศึกษาใหม่เพิ่มเป็นจำนวน 220 คน มีอาจารย์พูลศักดิ์ ประณุทนรพาลรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจ รักษาการคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • ปีการศึกษา พ.ศ. 2555 ได้รับสมัครนักศึกษาใหม่ในชั้นปีที่ 1 จำนวน  242 คน รวมนักศึกษาของคณะในปีการศึกษา 2555 จำนวน  1,032 คน  ทั้งนี้ในส่วนของผู้บริหารคณะได้ปรับเปลี่ยน คือ ในภาคเรียนที่ 1/2555  มี อาจารย์พูลศักดิ์  ประณุทนรพาล  ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจและรักษาการคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์  และต่อมาในภาคเรียนที่ 2/2555  ได้มีคำสั่ง มธบ. 0102/1007 แต่งตั้งให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.วลัยพร  รัตนเศรษฐ เป็นคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ และดำรงตำแหน่งคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์จนถึงปัจจุบัน

ค่านิยมหลัก : เสียสละและมีจิตอาสาเพื่อส่วนรวม

Iphone
ปรัชญา/ปณิธาน/วิสัยทัศน์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์
ปรัชญา
รัฐประศาสนศาสตร์ นำความรู้คู่คุณธรรมสู่ภารกิจแห่งรัฐ
ปณิธาน
สร้างบุคลากรของรัฐที่พร้อมด้วยความรู้ความสามารถและคุณธรรม
วิสัยทัศน์
สร้างความเป็นเลิศขององค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล

ค่านิยม

 

จิตสำนึกต่อส่วนรวม ความตรงต่อเวลา ความชื่อสัตย์สุจริต ความสำรวมทั้งกายและวาจา ความมีวินัย
Iphone

เอกลักษณ์หรือวัฒนธรรม

การปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ สำนึกในจิตสาธารณะส่วนรวมของคณาจารย์และบุคลากรของคณะ ถือได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญที่สุดและเด่นชัดที่สุดของคณะ นำมาซึ่งจุดแข็งของคณะ นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสู่นักศึกษาของคณะให้เป็นนักศึกษาและบัณฑิตผู้มีความเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ เพิ่มเติมจากความรอบรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ในการปฏิบัติด้วย

 

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล (รักษาการคณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ในขณะนั้น) ให้ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ รองคณบดี ติดต่อประสานงานกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสร้างเครือข่ายภาคราชการ และเป็นการบริการวิชาการให้กับสังคมด้วย ดังนั้นคณะรัฐประศาสนศาสตร์จึงได้ทำงานให้กับจังหวัด โดยทำงานบริการวิชาการและงานวิจัยต่อเนื่อง ให้กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนกระทั่งปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2554 คณะรัฐประศาสนศาสตร์รับเป็นที่ปรึกษาในโครงการจัดทำแผนพัฒนา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2555 - 2558 และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556

ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เชิญ ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ หัวหน้าโครงการที่ปรึกษาฯ ดังกล่าวให้เป็นวิทยากร ในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2560 และแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ณ โรงแรมธารา มันตรา ชะอำ จ.เพชรบุรี และในปีเดียวกันจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้มอบให้ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ โดย ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีเป็นผู้รับผิดชอบโครงการวิจัยประเมินผลตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2555

พ.ศ. 2556 ทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เชิญให้ ผศ.ดร.วลัยพร รัตนเศรษฐ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์เป็นวิทยากร ในการทบทวนและจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี พ.ศ. 2558 – 2561 และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประจำปีงบประมาณ 2558 เมื่อวันที่ 23 – 24 สิงหาคม 2556 ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และนายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้

 

     

แนวทางประกอบอาชีพ

Iphone

แนวทางประกอบอาชีพ

  • สมัครรับราชการในหน่วยงาน ภาครัฐ กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำรวจ ทหาร ปลัดอำเภอ ฯลฯ
  • สมัครทำงาน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
  • สมัครทำงานในรัฐวิสาหกิจ เช่น การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารออมสิน ฯลฯ
  • สมัครทำงานในบริษัทเอกชน เช่น บริษัทธุรกิจต่างๆ ธนาคาร ฯลฯ
  • ประกอบธุรกิจของตนเอง